top of page
ART HISTORY
วิหารคด
ปกติวัดในสมัยอยุธยาหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้นจะนิยมทำเป็นระเบียงคดล้อมรอบ ที่วัดนี้จะมีลักษณะแตกต่างออกไปเล็กน้อย คือ ส่วนของระเบียงคดไม่ยาวต่อเนื่องกัน แต่เป็นอาคารยาวติดกับกำแพงและเว้นจังหวะห่างเป็นช่วง เรียกว่า “วิหารคด” โดยผนังด้านในติดกำแพง ส่วนอาคารด้านนอกจะมีเสาหรือช่องโค้งรับน้ำหนัก
ความสำคัญของวิหารคด คือ ภายในประดิษฐานพระอสีติมหาสาวก 80 องค์ ซึ่งถือเป็นคติที่ไม่เคยพบมาก่อนเลยทั้งในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ ตามประเพณีเดิมโดยเฉพาะในสมัยอยุธยาตอนปลายและต้นรัตนโกสินทร์มักประดิษฐานพระพุทธรูปไว้โดยรอบ
รูปแบบพระอสีติมหาสาวก เป็นประติมากรรมปูนปั้นลงรักปิดทอง ประทับนั่งขัดสมาธิเหนือฐานบัว พระเศียรปรากฏเฉพาะขมวดเกศาไม่มีพระรัศมี ซึ่งหมายถึงพระสาวก รูปแบบพระสาวกคงทำขึ้นในคราวเดียวกันทั้งหมด พร้อมทั้งการสร้างวัดและพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ
bottom of page